วิธีไหว้พระแม่ลักษมีในวันดิวาลี

Diwali (ดิวาลี) หมายถึง แถวหรือแนวของตะเกียงไฟ (rows of lighted lamps) ดังนั้น Diwali จึงเป็นเทศกาลแห่งแสงไฟและความรื่นเริง เพื่อต้อนรับปีใหม่ของชาวฮินดู อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของคุณงามความดีที่มีต่อความชั่วร้าย และแสงสว่างที่อยู่เหนือความมืดมน ยังแสดงถึงการเริ่มต้นฤดูหนาวอีกด้วย จริงๆ แล้ว Diwali  นั้นเป็นการเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแด่ พระราม และ นางสีดา พระมเหสี ในการเสด็จกลับมาสู่พระนคร อโยธยา (Ayodhya) ตามความเชื่อของชาวฮินดู

 

เทพเจ้าองค์สำคัญที่นิยมบูชากันในเทศกาลนี้ก็คือ พระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่ง และพระคเณศ เทพเจ้าแห่งการกำจัดอุปสรรคทั้งปวง เชื่อกันว่าพระลักษมีจะทรงไปเยือนทุกบ้านเรือนในช่วงเทศกาลนี้ เพื่อนำพาความมั่งคั่งและโชคลาภมาให้ กล่าวกันว่าพระนางจะมาเยือนบ้านหลังที่สะอาดที่สุดเป็นแห่งแรก ดังนั้นผู้คนจึงต้องทำความสะอาดบ้านจนแน่ใจว่าสะอาดพอ จากนั้นจึงจะจุดตะเกียงไฟเพื่อเชื้อเชิญพระนางเข้ามาในบ้าน

วิธีไหว้ ทั้ง 5 วัน

วันที่ 1 ของเทศกาลดิวาลีจะเริ่มต้นด้วย ธันเตราส (Dhanteras) เริ่มต้นด้วยการบูชาพระลักษมี ตามวัฒนธรรมอินเดีย เชื่อว่าบุคคลผู้มั่งคั่งพิจารณาว่าเป็นผลบุญจากการกระทำในอดีตที่เรียกว่า “กรรม”

 

วันที่ 2 เรียกว่า โชตีดิวาลี (Choti Diwali) หรือดิวาลีเล็ก ตามตำนานกล่าวว่า พระกฤษณะทรงสังหารอสูรร้ายที่ชื่อว่า นรกสูร (Narakasura) ในวันนี้ และเป็นวันที่ทำพิธีบูชาเทวีลักษมีและพระราม มีการบูชา พระแม่กาลี เทพีแห่งความแข็งแกร่ง

 

วันที่ 3 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีนี้ ตามปฏิทินจันทรคติ และถือเป็นวันที่สำคัญมาก มีการจุดตะเกียงให้สว่างไสวไปทั่วบ้านเรือน ซึ่งตะเกียงเป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้

 

 วันที่ 4 เป็นวันแรกของปีใหม่ทางจันทรคติ เรียกว่า ปัทวา (Padwa) ถึงจะเป็นวันปีใหม่ เป็นวันแรกของเดือนการ์ติกะ (Kartika) ตามตำนานกล่าวว่าเป็นวันที่พระกฤษณะเอาชนะพระอินทร์ เทพเจ้าแห่งสายฝนและสรวงสวรรค์ได้ในวันนั้น โดยการยกภูเขาโควรรณธนะ (Govardhana) ขึ้นช่วยเหลือผู้คนให้รอดจากน้ำท่วม แต่ตำนานของทางใต้เชื่อว่าวันนี้พระวิษณุปราบกษัตริย์บาลีได้ในวันนี้ร้านค้าต่างๆ มีสินค้าใหม่ๆ มานำเสนอในราคาพิเศษ

 

วันที่ 5 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลดิวาลี เรียกว่า ไภยดุจ (Bhaiduj) บ้างก็เรียกว่า ยมทวิติยา (Yama Dwitiya) เป็นวันที่พี่น้องชายและหญิงจะมาเชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากขึ้น เหมือนกับที่ พระนางยมี สวดขอพรให้พระเชษฐา พระยม เทพเจ้าแห่งความตาย พี่สาวหรือน้องสาวจะสวดมนต์ให้น้องชายหรือพี่ชายของตน ส่วนพี่ชายหรือน้องชายก็จะให้ของขวัญเป็นการตอบแทน และทำอาหารรับประทานร่วมกัน ทั้งยังเป็นวันที่บรรดาพ่อค้าต่างๆ จะไปเปิดบัญชีใหม่ที่ธนาคาร

 

 

วิธีไหว้ขอพรพระแม่ลักษมี

1.ทำความสะอาดบ้านและหิ้งบูชา (พระแม่ลักษมีท่านชอบความสะอาดและจะเสด็จลงมายังบ้านที่สะอาดก่อน)

2.เตรียมชุดไหว้ ชุดบูชาที่ทางร้านจัดเตรียมไว้ให้ ไว้ที่โต๊ะบูชาหรือหน้าหิ้ง (กรณีที่มีชุดบูชุดสามารถใช้ชุดบูชาขอพรอย่างเดียวได้)

3.เตรียมน้ำและนมพร้อมทั้งของถวายที่สะดวก

4.ตกแต่งหิ้งด้วยดอกบัวสีชมพู (ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้สีขาว) พระแม่ลักษมีท่านชอบดอกบัวเป็นพิเศษ

5.ดอกดาวเรืองและดอกไม้ตามสะดวก

6.เทียน สำหรับหิ้งบูชา เป็นการถวายแสงไฟแสงสว่างแด่องค์ท่าน

7.กำยาน หรือ เครื่องหอมชนิดอื่นๆ เชื่อว่าเป็นการถวายของหอมเป็นการรับพรจากองค์เทพโดยตรง

8.ผลไม้ตามฤดูกาล

9. เปิดเพลงพระแม่ลักษมีถวายองค์ท่านตลอดการบูชาหรือตามสะดวก

หลังจากเตรีมความพร้อมในการไหว้แล้วให้ชำระร่างกายแต่งตัวให้สะอาด

บทสวด

โอมศรี มหาลักษมี นะมะฮา 9 รอบ

ข้าพเจ้าชื่อ........นามสกุล.........วัน/เดือน/ปีเกิดอายุ......อยู่บ้านเลขที่............ขอถวาย...........

แก่...พระแม่ลักษมี...ที่เปรียบดั่งพระมารดาของข้าพเจ้าและครอบครัวข้าพเจ้าขอกราบไหว้ด้วยความเคารพอย่างสูงสุดใน

เทศกาลเดวาลีในปีนี้ลูกขอขอพร..................ขอให้สำเร็จทุกประการ โอมศานติ ศานติ ศานติ

หลังจากถวาย 15 นาทีสามารถลาของกินได้เลย โดยกล่าวว่า ข้าพเจ้าของลาของถวายอาหารทิพย์เหล่านี้เพื่อนำไปรับประทานและขอองค์เทพอวยพรให้ข้าพเจ้า

 

Visitors: 548,099