พระแม่สุรัสวตี

พระแม่สรัสวตีเทพเจ้าแห่งนักปราชญ์เทวีแห่งสติปัญญา 

และความงามการสร้างสรรค์สรรพสิ่ง การดนตรี และมนต์ตรา

พระนางสุรัสวดี ทรงมีพระนามเรียกขาน อาทิ วัค วัคเทวี วาคิสวารี ภารตี วาณี สาวิตรี และอื่นๆอีกภาคนึงของพระแม่สุรัสวดีคือพระนางคายตรีมนตรา ความเป็นมาของพระนางสุรัสวดี มีมากมายหลากหลายคัมภีร์จึงจะขอเล่าเป็นบางส่วนดังจะเสนอ ในคัมภีร์มัสยาปุราณะ กล่าวไว้ว่า พระพรหมธาดาเป็นผู้สร้างพระนางขึ้น (เปรียบได้ว่าพระนางเป็นเสมือนพระธิดาของพระองค์) กาลต่อมาพระพรหมท่านเกิดหลงรักในธิดาองค์นี้ จึงได้ทำการอภิเษกกับธิดาของพระองค์เองในด้านของพระนางสุรัสวดีเมื่อแรกที่กำเนิดมาได้รับประทานพรจากสวรรค์ไว้ว่าให้เคลื่อนไหวไปได้ดังคิด


ไม่ว่าจะไปทิศใดก็ตาม ด้วยเหตุนี้เองพระพรหมจึงต้องเฝ้าติดตามดูแลคุ้มครองพระนางให้ได้เสมอ จึงเป็นเหตุให้พระองค์ทรงมีพระพักตร์ 5 พักตร์เพื่อดูแลนางทุกหนแห่งคัมภีร์วิษณุโบราณบันทึกไว้ว่าเมื่อพระพรหมเนรมิตพระนางสุรัสวดีขึ้นมาแล้วได้ประทานคัมภีร์ด้านอักษรเทวะนาครี และอักษรภาษาสันสกฤตให้แก่พระนาง พระนางจึงได้ศึกษาคัมภีร์จนแตกฉาน เก่งทางด้านนี้ความสามารถนั้นเหนือกว่าผู้ใดบนสรวงสวรรค์ กล่าวกันว่าพระนางเป็นเจ้าแม่หรือเทพีแห่งอักษาศาสตร์ด้วย พระนางเป็นผู้ให้กำเนิดอักษรเทวะนาครี ซึ่งเป็นตัวอักษร (เขียน) ของอักษรภาษาสันสกฤต หรือภาษาอินดี ในอินเดียปัจจุบัน บางตำนานกล่าวไว้ว่าพระนางสุรัสวดี เป็นเทพธิดาแห่งน้ำ (ในอินเดียมีแม่น้ำชื่อสรัสวดี) ซึ่งหลักฐานจากหนังสือมหาภารตะกล่าวว่าพระนางเป็นผู้ให้กำเนิดน้ำอันบริสุทธิ์แก่มวงมนุษย์สัตว์และพื้นดินอีกตำนานที่จะขอเล่านั้นแต่เดิม

 

 

พระแม่สรัสวดี เทวีแห่งสติปัญญาคือชายาแห่งพระพรหมผู้สร้างโลก เป็นเทวีที่งดงามมาก พระฉวีวรรณผิวขาวผุดผ่องเปรียบดั่งไข่มุก หรือหิมะ อาภรณ์ผ้าไหมแก้วขาวพิสุทธิ์ประดับไปด้วยเพชร ระยิบระยับแวววาวสุกใสไปทั้งองค์ ประทับบนหงส์ และนกยูง มีเครื่องดนตรีที่ชื่อว่า"วีณา"{พิณ}อันศักดิ์สิทธิ์ มีน้ำใจอันดีเป็นยิ่งนัก พระองค์ประทับอยู่ในวิมาน ณ สวรรค์ชั้นพรหม หรือพรหมโลก เป็นมหาเทวีหนึ่งในสามเทวีสูงสุด และยังเป็นบรมครูของพระคเณศท่านถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆให้แก่องค์พระพิฆเณศ ด้วย ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในประเทศอินเดียยังมีแม่น้ำสายที่สำคัญมากที่ชื่อ สรัสวดี อีกด้วย

พระองค์ยังเป็นผู้ให้กำเนิดบทสวดมนต์บทแรกของจักรวาลชาวฮินดูยังนับถือพระสรัสวดีเป็น เทวีแห่งเวทมนต์ คาถา และการประกอบพิธีกรรม ฉะนั้น หากมีการประกอบพิธีบูชาเทพหรือเทศกาลใดๆแล้ว ถ้าอัญเชิญ พระพิฆเนศ เป็นเทพองค์แรกก็จะทำให้พิธีนั้นๆเกิดสิริมงคลขึ้น และการอัญเชิญ พระแม่สรัสวตีร่วมด้วย ก็ย่อมบันดาลให้การสวดมนต์และการประกอบพิธีกรรมทุกขั้นตอน ดำเนินไปอย่างศักดิ์สิทธิ์ มีพลังเข้มข้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

พระสรัสวดีทรงโปรดการแสดงดนตรี การบรรเลงบทเพลงการร้องเพลงถวาย การอ่านบทกวีถวาย ฯลฯ ผู้บูชานิยมเปิดเพลง หรือบรรเลงดนตรีที่มีท่วงทำนองประณีตงดงามถวายแด่พระองค์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทใดท่านก็โปรดทั้งสิ้น เช่น พิณ จะเข้ ขิม ไวโอลีน กีต้าร์ เปียโน กลอง ฯลฯ

รูปภาพของพระแม่สรัสวดี หรือ สรัสวตี นั้นจะสังเกตได้ง่ายที่สุดคือ พระองค์จะทรงเครื่องดนตรีที่เรียกว่า วีณา (จะเข้ของอินเดีย) อยู่เสมอ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการดนตรี ศิลปะทุกแขนง และการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ฯลฯ พระหัตถ์อีกข้างจะถือ คัมภีร์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้ ปัญญา การเขียน การอ่าน การศึกษา และพระหัตถ์อีกข้างทรงถือ ลูกประคำ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการสวดมนต์ การภาวนา การทำสมาธิ การประกอบพิธีกรรม ฯลฯ

บางลัทธิ บางคติที่มีการวาดรูปพระสรัสวตีเพื่อการบูชานั้น อาจจะวาดให้พระองค์ทรง ขลุ่ย สังข์ คันศร คฑา บ่วง ลูกบด ประตัก ฯลฯ แล้วแต่จิตรกรจะสร้างสรรค์ขึ้น สำหรับพาหนะของพระแม่สรัสวดีคือ หงษ์ และ นกยูง เน้นที่สีขาว บางครั้งก็ทรงประทับบนดอกบัวสีขาว

 

ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยฉบับแรกของไทยนั้นชื่อว่า “จินดามณี” ก็มีที่มาจากภาษาทมิฬ (อินเดียตอนใต้) ที่เรียกพระสรัสวดีว่า “จินดา” และมีหลักฐานยืนยันไว้ชัดเจนในภารตะวิทยาว่า

หนังสืออักษรศาสตร์ทุกเล่มในอินเดียจะถูกเรียกว่า “จินดามณี” เพราะเกี่ยวพันกับเทวนารีพระองค์นี้ที่พระองค์ทรงเป็นเทพเเห่งครูหนังสือ

ประเพณีการนับถือพระสรัสวดีว่าเป็นเทพบรมครูของศิลปะวิทยานี้มีมาแต่สมัยอธยุา เรื่อยมาจนสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เปลี่ยนคตินี้ไป โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทรงนำคุณสมบัติทั้งมวลของพระองค์สรัสวดีมาไว้ที่พระคเณศ
ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ก็มีการจารึกเรื่องราวการสร้างเทวาลัยถวายพระองค์ และจารึกที่สด๊กป๊กทมก็ยกย่องพระนางว่าเป็นเทพเจ้าที่สำคัญ โดยจารึกขอมมักเรียกพระนางว่า “สรัสวดีภควดี” อันหมายถึงพระนางทรงเป็นองค์แทนของพระพรหม (ศักติพรหม) 

ส่วนอีกพระนามหนึ่งที่พบว่าขอมนิยมใช้เรียกพระองค์คือ“วาคีศวรี” นับว่าทรงเป็นมหาเทวีที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในอาณาจักรขอมทีเดียว

 

Visitors: 548,100